หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทย เป็นอักษรโรมัน
ตามประกาศราชบัณฑิตยสถาน เรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2542 ได้กำหนดไว้ ดังนี้
หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดยวิธีถ่ายทอดเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ = chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ
พยัญชนะไทย | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง | |
---|---|---|---|
ตัวต้น | ตัวสะกด | ||
ก | k | k | กา = ka , นก = nok |
ข ฃ ค ฅ ฆ | kh๑ | k | ขอ = kho , สุข = suk , โค = kho , ยุค = yuk , ฆ้อง = khong , เมฆ = mek |
ง | ng | ng | งาม = ngam , สงฆ์ = song |
จ ฉ ช ฌ | ch๒ | t | จีน = chin , อำนาจ = amnat , ฉิ่ง = ching , ชิน = chin , คช = khot , เฌอ = choe |
ซ ทร(เสียง ซ) ศ ษ ส | s | t | ซา = sa , ก๊าซ = kat , ทราย = sai , ศาล = san , ทศ = thot , รักษา = raksa , กฤษณ์ = krit , สี = si , รส = rot |
ญ | y | n | ญาติ = yat , ชาญ = chan |
ฎ ฑ (เสียง ด) ด | d | t | ฎีกา = dika , กฎ = kot , บัณฑิต = bandit , ษัฑ = sat , ด้าย = dai , เป็ด = pet |
ฏ ต | t | t | ปฏิมา = patima , ปรากฏ = prakot, ตา = ta , จิต = chit |
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ | th๑ | t | ฐาน = than , รัฐ = rat , มณฑล = monthon , เฒ่า = thao , วัฒน์ = wat , ถ่าน = than , นาถ = nat, ทอง = thong , บท = bot , ธง = thong , อาวุธ = awut |
ณ น | n | n | ประณีต = pranit , ปราณ = pran , น้อย = noi , จน = chon |
บ | b | p | ใบ = bai , กาบ = kap |
ป | p | p | ไป = pai , บาป = bap |
ผ พ ภ | ph๑ | p | ผา = pha , พงศ์ = phong , ลัพธ์ = lap , สำเภา = samphao , ลาภ = lap |
ฝ ฟ | f | p | ฝั่ง = fang , ฟ้า = fa , เสิร์ฟ = soep |
ม | m | m | ม้าม = mam |
ย | y | - | ยาย = yai |
ร | r | n | ร้อน = ron , พร = phon |
ล ฬ | l | n | ลาน = lan , ศาล = san , กีฬา = kila , กาฬ = kan |
ว | w | - | วาย = wai |
ห ฮ | h | - | หา = ha , ฮา = ha |
หมายเหตุ ::
๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่กลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้
๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่กลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง) h ที่ประกอบหลัง k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้
k แทนเสียง ก เพราะเป็นเสียงสิถิล (เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งออกมาในขณะออกเสียง) kh จึงแทนเสียง ข ฃ ค ฅ ฆ เพราะเป็นเสียงธนิต
p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ
t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต
๒. ตามหลักสัทศาสตร์ ควรใช้ c แทนเสียง จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ ch แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต เขมร ฮินดี อินโดนีเซีย และภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษแต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไข้วเขวกับการสะกดและออกเสียงตัว c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit ก็อาจจะออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ช ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงใช้ ch แทนเสียง จ ตามที่คุ้นเคย เช่น จุฬา = chula , จิตรา = chittra
p แทนเสียง ป ซึ่งเป็นเสียงสิถิล ph จึงแทนเสียง ผ พ ภ เพราะเป็นเสียงธนิต ไม่ใช่แทนเสียง ฟ
t แทนเสียง ฏ ต ซึ่งเป็นเสียงสิถิล th จึงแทนเสียง ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต
ตารางเทียบเสียงสระ
สระ | อักษรโรมัน | ตัวอย่าง |
---|---|---|
อะ , -ั (อะ ลดลรูป) , รร (มีตัวสะกด) , อา | k | ปะ = pa , วัน = wan , สรรพ = sap , มา = ma |
อะ , -ั (อะ ลดลรูป) , รร (มีตัวสะกด) , อา | a | ปะ = pa , วัน = wan , สรรพ = sap , มา = ma |
รร (ไม่มีตัวสะกด) | an | สรรหา = sanha , สวรรค์ = sawan |
อำ | am | รำ = ram |
อิ , อี | i | มิ = mi , มีด = mit |
อึ , อื | ue๑ | นึก = nuek , หรือ = rue |
อุ , อู | u | ลุ = lu , หรู = ru |
เอะ , เ-็ (เอะ ลดรูป) , เอ | e | เละ = le , เล็ง = leng , เลน = len |
แอะ , แอ | ae | และ = lae , แสง = saeng |
โอะ , - (โอะ ลดรูป) , โอ , เอาะ , ออ | o | โละ = lo , ลม = lom , โล้ = lo , เลาะ = lo , ลอม = lom |
เออะ , เ- ิ (เออะ ลดรูป) , เออ | oe | เลอะ = loe , เหลิง = loeng , เธอ = thoe |
เอียะ , เอีย | ia | เผียะ = phia , เลียน = lian |
เอือะ , เอือ | uea๒ | - * , เลือก = lueak |
อัวะ , อัว , - ว- (อัว ลดรูป) | ua | ผัวะ = phua , มัว = mua , รวม = ruam |
ใอ , ไอ , อัย , ไอย , อาย | ai | ใย = yai , ไล่ = lai , วัย = wai , ไทย = thai , สาย = sai |
เอา , อาว | ao | เมา = mao , น้าว = nao |
อุย | ui | ลุย = lui |
โอย , ออย | oi | โรย = roi , ลอย = loi |
เอย | oei | เลย = loei |
เอือย | ueai | เลื้อย = lueai |
อวย | uai | มวย = muai |
อิว | io๓ | ลิ่ว = lio |
เอ็ว , เอว | eo | เร็ว = reo , เลว = leo |
แอ็ว , แอว | aeo | แผล็ว = phlaeo , แมว = maeo |
เอียว | iao | เลี้ยว = liao |
ฤ (เสียง รึ) , ฤา | rue | ฤษี , ฤาษี = ruesi |
ฤ (เสียง ริ) | ri | ฤทธิ์ = rit |
ฤ (เสียง เรอ) | roe | ฤกษ์ = roek |
ฦ , ฦา | lue | - * , ฦาสาย = luesai |
หมายเหตุ ::
๑. ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงใช้ u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื
๒. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a)
๓. ตามหลักเดิม อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มี ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วย o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao) , เอ็ว เอว (eo) , แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao
* ไม่มีคำประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย
๑. ตามหลักเดิม อึ อื อุ อู ใช้ u แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง อึ อื กับ อุ อู จึงใช้ u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื
๒. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ อัวะ อัว ใช้ ua แทนทั้ง ๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว จึงใช้ ua แทน อัวะ อัว และ uea แทน เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a)
๓. ตามหลักเดิม อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มี ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วย o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao) , เอ็ว เอว (eo) , แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน อิว ซึ่งเป็นเสียง อิ กับ ว จึงแทนด้วย i + o คือ io ส่วนเสียง เอียว ซึ่งมาจากเสียง เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao
* ไม่มีคำประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย
อ้างอิง:
- ราชบัณฑิตยสถาน http://www.royin.go.th
ดาวน์โหลด
- หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (.pdf)
- ราชบัณฑิตยสถาน http://www.royin.go.th
ดาวน์โหลด
- หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง (.pdf)
"ความสำเร็จของชีวิต เป็นอิทธิพลมาจาก 4 ส่วน คือ ดวงชะตา ฮวงจุ้ย คุณธรรม และลิขิตฟ้า"
อ.ปิยปราชญ์ วัจนะประสิทธิ์
ผู้ก่อตั้งและโหราจารย์ประจำเว็บไซต์ Thaibabyname.com มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
ผู้ก่อตั้งและโหราจารย์ประจำเว็บไซต์ Thaibabyname.com มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543