ประวัติการตั้งชื่อในไทย
วิวัฒนาการของชื่อคนไทย
วิถีชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับการตั้งชื่อมายาวนาน ในที่นี่ขอเริ่มต้นที่สมัยสุโขทัย เพราะเป็นสมัยแรกที่คนไทยรวมชาติเป็นปึกแผ่น และปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร จนถึงสมัยรัตนะโกสินทร์ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อในสมัยสุโขทัย
-
ชื่อที่พบเกือบทั้งหมดจะเป็นคำพยางค์เดียว ภาษาที่ใช้น่าจะเป็นภาษาไทยทั้งหมด โดยความหมายของชื่อสะท้อนแนวคิดของคนในยุค "สร้างบ้านแปลงเมือง" 2 ประการคือ แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ฉันญาติ เช่น อ้าย ยี่ ไส ฯลฯ และแนวคิดเรื่องการมุ่งเอาความปลอดภัยมั่นคง และความเจริญของชุมชนเป็นหลักร่วมกัน เช่น คง จิด จอด ผากอง ฯลฯ
- ชื่อในสมัยอยุธยา และธนบุรี
-
ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาบาลีสันสกฤต และภาษบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย โดยความหมายของชื่อมักแสดงรูปธรรมที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น จัน (ต้นไม้) ทอง (ธาตุ) ฯลฯ หรือมีความหมาย แสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวที่กระทำอยู่อย่างปกติ เช่น มา พูน เลื่อน ฯลฯ
- ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
-
ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาบาลีสันสกฤต ภาษบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย และภาษาเขมร โดยความหมายของชื่อสะท้อนคตินิยม และวิถีทางดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี
- ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบประชาธิปไตยระยะต้น
-
ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นภาษาไทย แต่มีปริมาณการใช้ลดลง และเพิ่มการใช้ภาษาบาลีสันสกฤต โดยความหมายของชื่อมีลักษณะแตกต่างจากคตินิยมเดิม คือมีชื่อที่มีความหมายในเรื่องอำนาจ ชัยชนะ และการสงครามเพิ่มขึ้นมาก เช่น เฉลิมพล ณรงค์ ฯลฯ และมีชื่อที่แสดงความหมายเกี่ยวกับความรู้ ความฉลาด การศึกษา ซึ่งไม่ปรากฏเป็นชื่อในสมัยที่ผ่านมา เช่น โกวิท ปรีชา สุธี ฯลฯ
- ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน
-
ชื่อที่พบส่วนใหญ่จะเป็น 2 พยางค์ขึ้นไป ภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อนิยมใช้ภาษาบาลีสันสกฤตเป็นอย่างมาก นอกนั้นเป็นภาษาไทย และภาษาบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย นอกจากนี้ยังนิยมสรรหาชื่อที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนคนอื่น จึงปรากฏชื่อที่มีรูปลักษณ์ทางภาษาแปลก ๆ หรือมีหลายพยางค์มากกว่าสมัยที่ผ่านมา โดยความหมายของชื่อจะลดความนิยมชื่อที่มีความหมายเป็นรูปธรรม และมีความหมายเป็นนามธรรมมากขึ้น เช่นชื่อที่มีความหมายแสดงอำนาจ ชัยชนะ ความงาม ความเจริญ หรือศิริมงคล
สังเกตได้ว่าระหว่างแต่ละสมัยชื่อของคนไทยมีจำนวนพยางค์เพิ่มขึ้น หรือยาวขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการขยายชุมชน เมื่อชุมชนใหญ่ขึ้น ประชาชนมากขึ้น ชื่อย่อมมีโอกาสซ้ำกันมากขึ้น และเนื่องจากชื่อเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นในการสื่อสารให้สะดวกและถูกต้อง จึงต้องมีชื่อที่บ่งบอกเฉพาะลงไปเพื่อกำหนดการเรียกขานตัวกันชัดเจนไม่สับสน การตั้งชื่อให้ยาวขึ้นจึงเป็นทางออกหนึ่ง นอกจากการตั้งชื่อให้ยาวขึ้นแล้ว การตั้งชื่อให้แปลกใหม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อซ้ำ ซึ่งพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ความสำคัญอยู่ที่จะแสดงลักษณะเด่นของผู้เป็นเจ้าของชื่อให้เป็นที่รู้จักจำได้ เช่น เสียงแปลก สะกดแปลก ฯลฯ ฉะนั้นถึงแม้จะมีควาหมาย หรือไม่มีความหมายจึงไม่น่าจะถือเป็นสำคั
กำเนิดชื่อเล่น
ประวัติของชื่อเล่นนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรสมภพ ยศเจ้าฟ้ายังไม่มีในประเพณีกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นราชนัดดาคงทรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า ฝรั่งจึงเรียกในจดหมายเหตุแห่งในสมัยนั้นว่า "The Black Prince" ตรงกับ "พระองค์ชายดำ" และเรียกพระอนุชาเอกาทศรถว่า "The White Prince" ตรงกับ "พระองค์ชายขาว"
การตั้งชื่อเล่นปรากฏเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้นพระนามของพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์มักเป็นคำมากพยางค์ ทำให้พระนามยาว และเรียกไม่สะดวก จึงต้องมีวิธีเรียกให้สั้นจนกลายเป็น "ชื่อเล่น" แต่กระนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับกาลเทศะของผู้พูดเป็นสำคัญ
จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของชื่อเล่นมีความเกี่ยวข้องกับชื่อจริง เมื่อสภาพสังคมค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป คือเน้นความเสมอภาคมากขึ้น สามัญชนจึงตั้งชื่อจริงยาวขึ้น และเรียกยากขึ้นเช่นเดียวกับพระนามของเจ้านาย ด้วยเหตุนี้ชื่อเล่นจึงปรากฏใช้ในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเรียกชื่อเล่นที่ย่อมาจากชื่อจริงอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ เพราะชื่อเล่นเดียวกันอาจมาจากชื่อจริงที่ต่างกันได้หลายชื่อ เช่น คนที่ชื่อจริงว่า "กิตติบูรณ์" "ธนบูรณ์" "ภัทรบูรณ์" "ธีรบูรณ์" และ "สมบูรณ์" อาจมีชื่อเล่นว่า "บูรณ์" เหมือนกันหมด ปัญหาที่เกิดจากการเรียกชื่อเล่นจากส่วนหนึ่งของชื่อจริงนี้ กอปรกับความคุ้นเคยต่อการใช้คำไทยง่าย ๆ เพื่อสื่อลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคล นับเป็นจุดกำเนิดของ "ชื่อเล่น" (Pet Name) และ "ชื่อล้อ" (Nick Name) ซึ่งแยกต่างหากออกจากชื่อจริงอย่างเด็ดขาด และใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (หมายเหตุผู้เรียบเรียง: สมัยผมเรียนปริญญาตรี มีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่มีชื่อเล่นว่า "โอ๋" ถึง 11 โอ๋ด้วยกัน -_-')
ซึ่งในปัจจุบันการตั้งชื่อ ผู้ตั้งชื่อมักจะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อที่จะตั้งชื่อ ได้แก่ เพศของทารก วันเวลาเกิด ความหมายของชื่อ ความไพเราะของชื่อ ความแปลกใหม่ของชื่อ ชื่อของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน นามสกุล การเลียนแบบชื่อผู้อื่น และเสียงต่าง ๆ ในชื่อที่อาจเกิดปัญหา โดยส่วนใหญ่บิดามารดานิยมตั้งชื่อด้วยตนเอง โดยตั้งด้วยตนเอง และเลือกชื่อจากสื่อแนะนำการตั้งชื่อ
อ้างอิง:
- วิทยานิพนธ์ "การศึกษาการตั้งชื่อของคนไทย" โดย คุณวิรัช ศิริวัฒนะนาวิน มหาวิทยาลัยศิลปากร
- รายงานการวิจัยเรื่อง "การใช้ภาษาในการตั้งชื่อของคนไทย" โดย คุณสุภาพรรณ ณ บางช้าง (ปัจจุบัน แม่ชีวิมุตติยา) ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หนังสือ "พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- บทความเรื่อง "The Phonology of Thai Pet names" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ความสำเร็จของชีวิต เป็นอิทธิพลมาจาก 4 ส่วน คือ ดวงชะตา ฮวงจุ้ย คุณธรรม และลิขิตฟ้า"
อ.ปิยปราชญ์ วัจนะประสิทธิ์
ผู้ก่อตั้งและโหราจารย์ประจำเว็บไซต์ Thaibabyname.com มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
วิวัฒนาการของชื่อคนไทย
วิถีชีวิตของคนไทยมีความผูกพันกับการตั้งชื่อมายาวนาน ในที่นี่ขอเริ่มต้นที่สมัยสุโขทัย เพราะเป็นสมัยแรกที่คนไทยรวมชาติเป็นปึกแผ่น และปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร จนถึงสมัยรัตนะโกสินทร์ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน ดังมีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อในสมัยสุโขทัย
- ชื่อที่พบเกือบทั้งหมดจะเป็นคำพยางค์เดียว ภาษาที่ใช้น่าจะเป็นภาษาไทยทั้งหมด โดยความหมายของชื่อสะท้อนแนวคิดของคนในยุค "สร้างบ้านแปลงเมือง" 2 ประการคือ แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ฉันญาติ เช่น อ้าย ยี่ ไส ฯลฯ และแนวคิดเรื่องการมุ่งเอาความปลอดภัยมั่นคง และความเจริญของชุมชนเป็นหลักร่วมกัน เช่น คง จิด จอด ผากอง ฯลฯ
- ชื่อในสมัยอยุธยา และธนบุรี
- ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาบาลีสันสกฤต และภาษบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย โดยความหมายของชื่อมักแสดงรูปธรรมที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เช่น จัน (ต้นไม้) ทอง (ธาตุ) ฯลฯ หรือมีความหมาย แสดงกิริยาอาการเคลื่อนไหวที่กระทำอยู่อย่างปกติ เช่น มา พูน เลื่อน ฯลฯ
- ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาบาลีสันสกฤต ภาษบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย และภาษาเขมร โดยความหมายของชื่อสะท้อนคตินิยม และวิถีทางดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาและธนบุรี
- ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบประชาธิปไตยระยะต้น
- ชื่อที่พบจะเป็นคำพยางค์เดียวถึง 2 พยางค์ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นภาษาไทย แต่มีปริมาณการใช้ลดลง และเพิ่มการใช้ภาษาบาลีสันสกฤต โดยความหมายของชื่อมีลักษณะแตกต่างจากคตินิยมเดิม คือมีชื่อที่มีความหมายในเรื่องอำนาจ ชัยชนะ และการสงครามเพิ่มขึ้นมาก เช่น เฉลิมพล ณรงค์ ฯลฯ และมีชื่อที่แสดงความหมายเกี่ยวกับความรู้ ความฉลาด การศึกษา ซึ่งไม่ปรากฏเป็นชื่อในสมัยที่ผ่านมา เช่น โกวิท ปรีชา สุธี ฯลฯ
- ชื่อในสมัยรัตนโกสินทร์ ในระบอบประชาธิปไตยปัจจุบัน
- ชื่อที่พบส่วนใหญ่จะเป็น 2 พยางค์ขึ้นไป ภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อนิยมใช้ภาษาบาลีสันสกฤตเป็นอย่างมาก นอกนั้นเป็นภาษาไทย และภาษาบาลีสันสกฤตผสมภาษาไทย นอกจากนี้ยังนิยมสรรหาชื่อที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนคนอื่น จึงปรากฏชื่อที่มีรูปลักษณ์ทางภาษาแปลก ๆ หรือมีหลายพยางค์มากกว่าสมัยที่ผ่านมา โดยความหมายของชื่อจะลดความนิยมชื่อที่มีความหมายเป็นรูปธรรม และมีความหมายเป็นนามธรรมมากขึ้น เช่นชื่อที่มีความหมายแสดงอำนาจ ชัยชนะ ความงาม ความเจริญ หรือศิริมงคล
สังเกตได้ว่าระหว่างแต่ละสมัยชื่อของคนไทยมีจำนวนพยางค์เพิ่มขึ้น หรือยาวขึ้น สาเหตุสำคัญมาจากการขยายชุมชน เมื่อชุมชนใหญ่ขึ้น ประชาชนมากขึ้น ชื่อย่อมมีโอกาสซ้ำกันมากขึ้น และเนื่องจากชื่อเกิดขึ้นเพราะความจำเป็นในการสื่อสารให้สะดวกและถูกต้อง จึงต้องมีชื่อที่บ่งบอกเฉพาะลงไปเพื่อกำหนดการเรียกขานตัวกันชัดเจนไม่สับสน การตั้งชื่อให้ยาวขึ้นจึงเป็นทางออกหนึ่ง นอกจากการตั้งชื่อให้ยาวขึ้นแล้ว การตั้งชื่อให้แปลกใหม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อซ้ำ ซึ่งพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ความสำคัญอยู่ที่จะแสดงลักษณะเด่นของผู้เป็นเจ้าของชื่อให้เป็นที่รู้จักจำได้ เช่น เสียงแปลก สะกดแปลก ฯลฯ ฉะนั้นถึงแม้จะมีควาหมาย หรือไม่มีความหมายจึงไม่น่าจะถือเป็นสำคั
กำเนิดชื่อเล่น
ประวัติของชื่อเล่นนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะปรากฏครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรสมภพ ยศเจ้าฟ้ายังไม่มีในประเพณีกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นราชนัดดาคงทรงพระยศเป็นพระองค์เจ้า ฝรั่งจึงเรียกในจดหมายเหตุแห่งในสมัยนั้นว่า "The Black Prince" ตรงกับ "พระองค์ชายดำ" และเรียกพระอนุชาเอกาทศรถว่า "The White Prince" ตรงกับ "พระองค์ชายขาว"
การตั้งชื่อเล่นปรากฏเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้นพระนามของพระมหากษัตริย์ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์มักเป็นคำมากพยางค์ ทำให้พระนามยาว และเรียกไม่สะดวก จึงต้องมีวิธีเรียกให้สั้นจนกลายเป็น "ชื่อเล่น" แต่กระนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับกาลเทศะของผู้พูดเป็นสำคัญ
จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของชื่อเล่นมีความเกี่ยวข้องกับชื่อจริง เมื่อสภาพสังคมค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป คือเน้นความเสมอภาคมากขึ้น สามัญชนจึงตั้งชื่อจริงยาวขึ้น และเรียกยากขึ้นเช่นเดียวกับพระนามของเจ้านาย ด้วยเหตุนี้ชื่อเล่นจึงปรากฏใช้ในทำนองเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเรียกชื่อเล่นที่ย่อมาจากชื่อจริงอาจก่อให้เกิดความสับสนได้ เพราะชื่อเล่นเดียวกันอาจมาจากชื่อจริงที่ต่างกันได้หลายชื่อ เช่น คนที่ชื่อจริงว่า "กิตติบูรณ์" "ธนบูรณ์" "ภัทรบูรณ์" "ธีรบูรณ์" และ "สมบูรณ์" อาจมีชื่อเล่นว่า "บูรณ์" เหมือนกันหมด ปัญหาที่เกิดจากการเรียกชื่อเล่นจากส่วนหนึ่งของชื่อจริงนี้ กอปรกับความคุ้นเคยต่อการใช้คำไทยง่าย ๆ เพื่อสื่อลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคล นับเป็นจุดกำเนิดของ "ชื่อเล่น" (Pet Name) และ "ชื่อล้อ" (Nick Name) ซึ่งแยกต่างหากออกจากชื่อจริงอย่างเด็ดขาด และใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (หมายเหตุผู้เรียบเรียง: สมัยผมเรียนปริญญาตรี มีเพื่อนรุ่นเดียวกันที่มีชื่อเล่นว่า "โอ๋" ถึง 11 โอ๋ด้วยกัน -_-')
ซึ่งในปัจจุบันการตั้งชื่อ ผู้ตั้งชื่อมักจะต้องคำนึงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อที่จะตั้งชื่อ ได้แก่ เพศของทารก วันเวลาเกิด ความหมายของชื่อ ความไพเราะของชื่อ ความแปลกใหม่ของชื่อ ชื่อของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน นามสกุล การเลียนแบบชื่อผู้อื่น และเสียงต่าง ๆ ในชื่อที่อาจเกิดปัญหา โดยส่วนใหญ่บิดามารดานิยมตั้งชื่อด้วยตนเอง โดยตั้งด้วยตนเอง และเลือกชื่อจากสื่อแนะนำการตั้งชื่อ
- วิทยานิพนธ์ "การศึกษาการตั้งชื่อของคนไทย" โดย คุณวิรัช ศิริวัฒนะนาวิน มหาวิทยาลัยศิลปากร
- รายงานการวิจัยเรื่อง "การใช้ภาษาในการตั้งชื่อของคนไทย" โดย คุณสุภาพรรณ ณ บางช้าง (ปัจจุบัน แม่ชีวิมุตติยา) ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หนังสือ "พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช" โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
- บทความเรื่อง "The Phonology of Thai Pet names" โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ความสำเร็จของชีวิต เป็นอิทธิพลมาจาก 4 ส่วน คือ ดวงชะตา ฮวงจุ้ย คุณธรรม และลิขิตฟ้า"
ผู้ก่อตั้งและโหราจารย์ประจำเว็บไซต์ Thaibabyname.com มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543